วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ผลงาน การออกแบบปกรายงาน


ผลงานการออกแบบปกรายงาน


ผลงานการทำหนังสือ e-book


ผลงาน การทำหนังสือ e-book


บทความเล่นเกมออนไลน์


บทความเล่นเกมออนไลน์

บทความ
กลายเป็นเรื่องที่น่าตกใจ กรณีที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน โดนเรียกเก็บเงินค่าบริการจากผู้ให้บริการเครือข่ายถึง 6 แสนบาท รวมถึงอีกส่วนหนึ่งก็ถูกเรียกเก็บเป็นเงินหลายแสนบาท ต้นตอก็มาจากการเข้าไปเล่นเกมออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบรรดาบุตรหลาน จนพ่อแม่ผู้ปกครองต้องตกที่นั่งลำบาก ก็ยังนับเป็นความโชคดีที่บริษัทผู้ให้บริการแสดงความรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายและแก้ไขระบบ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก

สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของเยาวชนที่หลงใหลไปบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเกมที่เหล่าบรรดาผู้สร้างพยายามดึงดูดให้คนเข้าไปเล่น และเป้าหมายใหญ่ก็อยู่ที่เยาวชน จนกลายเป็นปัญหาของครอบครัวและของสังคมไปด้วย
สาเหตุการติดเกมออนไลน์ มีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่หลักๆ ก็มาจากเนื้อหาของเกม ความสนุกของตัวเกม อีกทั้งผู้เล่นต้องแข่งขันกันให้ได้ขึ้นสู่ระดับของเกมชั้นสูงๆ ขึ้น จึงทำให้ผู้เล่นต้องแข่งขันและใช้เวลาไปอย่างมาก บางครั้งเล่นอยู่หน้าจอทั้งวันทั้งคืน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเด็กมีเวลาว่างมากเกินไป และไม่รู้จะไปทำอะไร นอกจากนี้การเล่นเกมออนไลน์ยังได้เพื่อนกลุ่มใหม่ จนที่สุดก็ติดเกมออนไลน์ ปัญหาที่ตามมาก็คือ เด็กหมกมุ่นกับเกมมากเกินไป ไม่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับครอบครัวหรือสังคม โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีวุฒิภาวะพอหรือขาดการดูแลเอาใจใส่จะสร้างปัญหาสังคมด้วยการลักเล็กขโมยน้อยไปจนถึงการฉกชิงวิ่งราวทรัพย์สิน เพื่อจะหาเงินไปเล่นเกมออนไลน์ และมีไม่น้อยที่ก้าวเลยเถิดเข้าไปสู่เส้นทางอาชญากรรมแบบน่าเสียดายอนาคต

นอกจากนี้เด็กที่เข้าไปเล่นเกมออนไลน์อาจนำพฤติกรรมความรุนแรงจากเกมมาใช้ในชีวิตจริง เพราะขาดความยับยั้งชั่งใจ หรือบางส่วนก็ไม่สามารถแยกแยะโลกความเป็นจริงกับโลกในเกมออนไลน์ได้ นับเป็นเรื่องอันตรายมาก และเคยเกิดขึ้นเป็นข่าวมาแล้ว อีกทั้งปัญหาสภาพแวดล้อมที่เด็กเข้าไปใช้บริการเกมออนไลน์ ซึ่งก็คือร้านเกมทั่วๆ ไปนั้น แม้จะมีกฎหมายบังคับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของร้านว่าจัดการร้านได้ดีแค่ไหน มีการสอดส่องดูแลร้านและเด็กที่เข้ามาเล่นเกมดีเพียงพอหรือไม่ เพราะจำนวนไม่น้อยที่ร้านกลายเป็นแหล่งซ่องสุม มีทั้งยาเสพติดและสุราบุหรี่ จนเป็นสถานที่ทำลายเด็กและเยาวชนของประเทศไปโดยปริยาย ส่งผลให้ต้องสูญเสียทรัพยาบุคคลที่ควรมีประสิทธิภาพในอนาคตของประเทศไปอย่างไม่ควรจะเกิดขึ้น

จากสถิติของสถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มตัวอย่าง 2 หมื่นคน ทั่วประเทศ เมื่อปี 2556 พบว่า มีเด็กติดเกม 15% เล่นเกมออนไลน์ ไลน์ เฟซบุ๊ก 15% และเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติจำนวนเยาวชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน 18 ล้านคน ทำให้ทราบว่า มีเด็กไทยติดเกมแล้วมากกว่า 2.7 ล้านคน เป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับพฤติกรรมก็จะก้าวร้าวถึงขั้นทำร้ายพ่อแม่ผู้ปกครอง พยายามฆ่าตัวตายเมื่อถูกห้ามไม่ให้เล่นเกม หนีเรียนเก็บตัวอยู่บ้านเพื่อเล่นเกม ไม่นอนในเวลากลางคืน การเรียนตกต่ำ อารมณ์แปรปรวนง่าย ดังนั้นปัญหาเยาวชนติดเกมออนไลน์ควรถึงเวลาที่ผู้ใหญ่และครอบครัว รวมทั้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง ต้องเข้ามา จัดระเบียบและเปิดโลกใหม่คืนความสุขให้เด็กไทยในหนทาง ที่ถูกต้องเหมาะสม

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

บทความ นักวิทย์น้อยจากอียิปต์ พบวิธีแปรรูปขยะพลาสติก


บทความนักวิทย์น้อยจากอียิปต์ พบวิธีแปรรูปขยะพลาสติก




ทั่วโลกมีขยะที่เป็นพลาสติกอยู่มากมาย ทำให้มีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้เหล่านี้ ทั้งเพื่อไม่ให้เป็นตัวการทำลายสภาพแวดล้อมไปยาวนาน และเพื่อสร้างคุณค่าของมันให้กลับคืนมาอีกครั้ง ภายใต้แนวความคิดนี้ ขยะพลาสติกถูกนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในหลายๆ ทาง หนึ่งในจำนวนนั้นคือการนำมาใช้เป็น "ฟีดสต๊อก" หรือวัตถุดิบสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตพลังงาน ซึ่งโดยปกติแล้วมักใช้กระบวนการเผาที่ความร้อนสูง เพื่อให้โมเลกุลของขยะพลาสติกแตกตัวออก รวมตัวกันใหม่เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ตั้งแต่ส่วนที่เป็นก๊าซของเหลว และของแข็ง

ตรงนี้เองที่สาวน้อยวัยเพียง 16 ปีอย่าง อัซซา อับเดล ฮามิด ไฟอัด นักวิทยาศาสตร์น้อยชาวอียิปต์เข้ามาเกี่ยวข้อง

ในอียิปต์นั้น ขยะพลาสติกมีจำนวนมากมายในแต่ละปี ประเมินจากปริมาณการบริโภคแล้วอียิปต์มีเศษขยะพลาสติกเหลือมากถึง 1 ล้านตันในแต่ละปี สิ่งที่อัซซาคิดนั้นเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับการทำให้พลาสติก โพลีเมอร์ในขยะพลาสติกเหล่านี้แตกตัวออก เพื่อนำไปเปลี่ยนให้เป็น "ฟีดสต๊อก" สำหรับผ่านเข้าสู่กระบวนการผลิตพลังงานชีวมวลต่อไป

แนวความคิดนี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้กระบวนการของอัซซาโดดเด่นออกมาจากกระบวนการเดิมที่มีและใช้กันอยู่ก็คือ เธอเสนอให้ใช้ "อะลูมิโนซิลิเกต" เข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (คะตะลิสต์) อัซซาระบุว่า อลูมิโนซิลิเกต ไม่เพียงไม่แพงแต่ยังให้ผลผลิตสูงกว่าเดิมอีกด้วย ตัวเร่งปฏิกิริยาของเธอจะเข้าไปทำให้โมเลกุลของขยะแตกตัวออก ให้ผลลัพธ์ทั้งที่เป็นก๊าซ อย่างเช่น โปรเปน, มีเทน และอีเทน ซึ่งจะถูกผ่านกระบวนการเปลี่ยนให้เป็นเอทานอลต่อไป

แร่อะลูมิโนซิลิเกต ที่เธอนำมาใช้เป็นตัวคะตะลิสต์ในกระบวนการนี้นั้น เป็นแร่กลุ่มใหญ่ที่มีอยู่มากมายเรียกกันทั่วไปว่า กลุ่มแร่ดินเหนียว (เคลย์ มิเนอรัล) ราคาไม่แพงแน่ เพราะนี่คือแร่ที่เป็นส่วนประกอบหลักของเปลือกโลก

อัซซาระบุว่า เทคโนโลยีนี้ของเธอจะส่งผลกรรมวิธีผลิตพลังงานไฮโดรคาร์บอนจากขยะไม่เพียงมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ยังประหยัดมากขึ้นอีกด้วย กระบวนการของอัซซานอกจากจะได้ก๊าซที่เป็นพลังงานได้ทันทีแล้ว ยังได้น้ำมันที่เรียกว่า "แนฟทา" ซึ่งปกติมักได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบและถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตน้ำมันดีเซล และป้อนให้กับโรงงานปิโตรเคมีเพื่อผลิตเม็ดพลาสติกอีกด้วย

ประเมินจากขยะพลาสติกจำนวน 1 ล้านตันต่อปี อัซซาระบุว่า กระบวนการของเธอสามารถเปลี่ยนมันให้เป็นก๊าซพลังงานได้ 40,000 ตันต่อปี แนฟทาอีก 138,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 78 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2,500 ล้านบาทเลยทีเดียว

กระบวนการของอัซซาได้รับรางวัลยูโรเปียน ฟิวชัน ดีเวลลอปเมนท์ อะกรีเมนต์ อวอร์ดส์ ในงานประกวดนักวิทย์น้อยแห่งสหภาพยุโรปมาแล้ว และกำลังเตรียมการเพื่อนำขึ้นจดสิทธิบัตรกับทางสำนักงานสิทธิบัตรแห่งอียิปต์อีกด้วย


ที่มา : นสพ.มติชน

วีดีโอโลโก้ตัวหนังสือ LOGO m39 .

วีดีโอการทำeffect หลอดไฟนีออนใน photoshop .